วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานของการกำหนดวัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาถึงลักษณะและพฤติกรรมผู้เรียน
- เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการการกำหนดวัตถุประสงค์
ประเภทของวัตถุประสงค์ของบทเรียน
- วัตถุปุระสงคทั่วไป (General Objectives)
- วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives)
ส่วนปะกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
พฤติกรรมขั้นสุดท้ายหรือพฤติกรรมที่คาดหวัง หมายถึง การแสดง ออกของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดบทเรียนแล้วผู้เรียนแสดงพฤติ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องวัดได้ หรือสังเกตได้
เงื่อนไขหรือสถานการณ์(Condition or Situation) เป็นข้อความที่บ่งถึงสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือเงื่อนไข ที่จะให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา
เกณฑ์หรือมาตรฐาน (Standard or Criteria) เป็นส่วนที่ใช้ระบุความสามารถขั้นต่ำของผู้เรียนว่าจะต้อทำได้เพียงใด จึงจะยอมรับได้ว่าผู้เรียนตามวัตถุประสงค์แล้ว
การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์
1.วัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
1.1 ขั้นการฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge) วัตถุประสงค์ในระดับนี้ มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในลักษณะการฟื้นคืนความจำออกมาในลักษณะของการเขียนหรือการอธิบายด้วยคำพูด
1.2 ขั้นการประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge) วัตถปุระสงค์ในระดับนี้ มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาใหม่ ๆ ทีมีลักษณะเดียวกันกับสิ่งที่เคยผ่านการเรียนนรู้มาแล้วได้ อย่างถูกต้อง
1.3 ขั้นการส่งถ่ายความรู้ (Transferred Knowledge) วัตถุประสง์คในระดับนี้มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการส่งถ่ายความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในงานใหม่ ๆ ทีมีลักษณะแตกต่างไปจากคุณลักษณะเดิมที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
ได้อย่างถูกต้อง
2.วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย จำแนกออกได้3 ระดับ คือ ขั้นลอกเลียน (Imitation) ขั้นฝึกหัดความชำนาญ (Control) และขั้นความเป็นธรรมชาติแบบอัตโนมัติ(Automatism)
3.วัตถุประสงค์ทางด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
วัตถุประสงค์ด้านนี้จำแนกได้ 3 ระดับ คือ ขั้นการรับรู้ (Reception) ขั้นการตอบสนอง(Response) และขั้นการยึดมั่น (Internalization)
ข้อพิจารณาในการเเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เขียนสั้น ๆ ให้ได้ใจความ ควรมีความยาวหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น
2. ระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม
3. ระบุพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิด
4.เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเป็นรูปธรรม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม
การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task Analysis)
การวิเคราะห์งาน (Task Analysis) หมายถึง กระบวนการพิจารณา จำแนก แยกแยะ ระบุประเมินผล และจัดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานหรือภารกิจอย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่ใช่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่อย่างใด การวิเคราะห์งานจำแนกออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. งานที่เกิดจากการแยกออกเป็นงานย่อย (Task Decomposition)
2. งานที่เกิดจากการวิเคราะห์ฐานความรู้ (Knowledge-based Analysis)
3. งานที่เกิดจากการวิเคราะหฐ์ านความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ (Entity Relationship-based Analysis)
กระบวนการวิเคราะห์งาน มีดังนี้
1. กำหนดตำแหน่งงาน (Define the Position Title)
2. แยกแยะงานทั้งหมดทสีั่มพันธ์กับหน้าที่ (Identify All Job-Related Duties)
3. แยกแยะงานหรือภารกิจทงั้ หมด (Identify All Tasks)
4. ประเมินความสำคัญของงานหรือภารกิจ (Task Evaluation)
5. จัดลำดับงานหรือภารกิจ (Order the Tasks)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหา
เนื้อหา (Content) หมายถึง ข่าวสารที่เป็นสาระสำคัญต่างๆ
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งที่เป็นความรู้ทักษะแก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ
ในการเรียนการสอนจะระบุลงไปว่า “เนื้อหาวิชา” เนื่องจากเน้นการใช้ในบทเรียนซึ่งประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ
ตามหลักสูตร
ความคิดรวบยอดหรือสังกัป (Concept) หมายถึง เป้าหมายหรือแกนของสาระของบทเรียน
ที่จำแนกความแตกต่างขององค์ประกอบย่อยๆ หรือรวมจากองค์ประกอบย่อยๆ
การกำหนดความคิดรวบยอดของเนื้อหา พิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1.ลักษณะที่เห็นจากภายนอก
2.ลักษณะที่อยู่ภายใน
3.ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ
4.องค์ประกอบกับสิ่งอื่นๆ
ประเภทเนื้อหา
เนื้อหาจำแนกตามลักษณะของการเรียนรู้ได้ 2 ประเภท
1.ประเภทความรู้ทางทฤษฎี (Knowledge)
2. ประเภททักษะความชำนาญ (Skill)
จำแนกตามโครงสร้างและระดับเนื้อหา
1.เนื้อหาที่เป็นจริงและกระบวนการ (Facts and Process)
เป็นเนื้อหาที่อาศัยความจำ
2.เนื้อหาที่เป็นหลักการที่เกิดจากแนวคิดเบื้องต้น
(Basic Idea) เป็นเนื้อหาที่แสดงความสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม
3.เนื้อหาที่แสดงความคิดรวบยอด
(Concept) เป็นเนื้อหาที่สรุปเป็นคำจำกัดความ กฎ สูตร ทฤษฏี
และหลักการต่างๆ
4.เนื้อหาที่อยู่ในรูปของระบบความคิด (Thought System)
เป็นเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ใฝ่คิดหรือรวมคิดสร้างสรรค์
การวิเคราะห์เนื้อหา
(Content Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Study Behavioral Objective)
2.การรวบรวมและการศึกษาข้อมูล
(Collect and Study Related Data)
3.การประเมินความสำคัญของเรื่องย่อย(Evaluate
Sub-Topic)
4.การจัดลำดับความสัมพันธ์ของหัวเรื่อง
(Sequencing)
5.การเขียนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(Write the Content)
ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา
1.การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
(Study Behavioral Objective) วัตถุประสงค์เชิงพฤตกิรรมของบทเรียน
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพฤตกิรรมที่คาดหวังของผู้เรียนจากบทเรียน
2.การรวบรวมและการศึกษาข้อมูล
(Collect and Study Related Data) ข้อมูลในที่นี้ หมายถึง
ข้อความเนื้อหา ภาพ เสียง วัสดุเครื่องมือ โปรแกรม และส่วนอื่น ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอและออกแบบบทเรียน
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1) ส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน
(Subject Matter Resources)
2) ส่วนที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียน
(Instructional Design Resources)
3) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบการนำส่งบทเรียน
(Delivery System Resources)
ขั้นตอนการรวบรวมและการศึกษาข้อมูล
มีดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมดจากแหล่งที่มาของเนื้อหา
2. ประเมินข้อมูลปัจจุบันเหล่านั้นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่
3. รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ภายนอก
4. ประเมินข้อมูลทั้งหมดว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่
5. ศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่ได้
การประเมินความสำคัญของหัวเรื่องย่อย
(Evaluate Sub-Topic)
เกณฑ์การพิจารณา
มีดังนี้
1.การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในการเรียน
(Promotes Problem Solving)
2. การส่งเสริมทักษะในการทำงานถูกต้องสมบูรณ์ (Promotes Learning Skill)
3. การส่งเสริมเจตคติที่ดี (Promotes
Transfer Value)
การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา
(Sequencing)
เกณฑ์การพิจารณาทั่ว
ๆ ไป ดังนี้
1. จัดลำดับเนื้อหา
โดยพิจารณาเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหายาก
2. จัดตามลำดับก่อนหลังของเนื้อหา
เช่น เนื้อหาทฤษฎีต้องมาก่อนเนื้อหาด้านทักษะปฏิบัติ เป็นต้น
3. จัดลำดับเนื้อหาจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
ๆ
4. จัดลำดับเนื้อหาตามลำดับเวลาที่เกิดก่อนหลัง
5. จัดลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหานามธรรม
6. จัดลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่สังเกตได้ไปหาข้อมูลหรือกฎเกณฑ์
การเขียนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
(Write the Content)
เนื้อหาที่จะนำเสนอในแต่ละวัตถุประสงค์บทเรียนประกอบด้วย
2 ส่วน ดังนี้
1. เนื้อหาหลัก (Main
Element) ได้แก่ความคิดรวบยอดที่เป็นแกนของเนื้อหานั้น ๆ ที่จำเป็นต้องมี
เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามวัตถุประสงค์
2. ความรู้ต่าง ๆ
(Knowledge) ได้แก่ข้อมูลหรือรายละเอียดปลีกย่อยที่ใช้สนับสนุน
ให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาหลัก ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งส่วนก็ได้
ขั้นตอนการเรียนการสอน
สามารถจำแนกเป็น
4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสนใจปัญหา (M:
Motivation)
2. ขั้นศึกษาข้อมูล (I:
Information)
3. ขั้นนำข้อมูลมาใช้
(A: Application)
4. ขั้นประเมินผลสำเร็จ
(P: Progress)
วิธีการนำส่งบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามวิธีการนำส่งบทเรียน
(Delivery) ไปยังผู้เรียนได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1. นำเสนอแบบเป็นกลุ่ม (Group Presentation)
2. นำเสนอแบบกลุ่มย่อย (Small-group Presentation)
3. แบบเรียนด้วยตัวเอง (Self-pace Instruction)
การประเมินการเรียนการสอน
ปัจจัยในการพิจารณาแบบทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลมีทั้งหมด
7 ประเด็นดังนี้
1. พฤตกิรรมของผู้เรียนที่ต้องการ (Audience Behaviors)
2 เวลาในการทดสอบ (Time)
3. ลักษณะการสอบ (Kind of Test)
4. วิธีการสอบ (Methodology)
5. ความถี่ในการสอบ (Frequency)
6. เกณฑ์ (Criteria)
7. ลักษณะการตรวจผล (Checking Method)
ขั้นตอนในการออกแบบทดสอบสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการออกแบบทดสอบสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์มีดังนี้
1. ศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
2. กำหนดชนิดของแบบทดสอบ
3. เตรียมงานและเขียนแบบทดสอบฉบับร่าง
4. วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ
5. ดำเนินการจัดพิมพ์แบบทดสอบ
ชนิดของแบบทดสอบสำหรับการเรียนการสอน
แบบทดสอบจำแนกออกเป็น
2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test)
2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)
ลักษณะของแบบทดสอบที่ดี
ลักษณะของแบบทดสอบที่ดีมีดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง (Validity) เป็นคุณลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดอย่างถูกต้องตรงความมุ่งหมาย
2. มีความเชื่อมั่นสูง (Reliability) คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบต้องมีความคงที่แน่นอน
ว่าจะทำการสอบกี่ครั้ง
ผลที่ได้ต้องคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
3. มีความยากง่ายพอเหมาะ (Difficulty) แบบทดสอบจะต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป
4. มีอำนาจจำแนกดี (Discrimination) หมายถึง ลักษณะที่แบบทดสอบสามารถจำแนก
ผู้เรียนออกตามความสามารถได้
5. มีความเป็นปรนัย (Objectivity) แบบทดสอบที่มีความเป็นปรนัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น