วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Poster Design

การออกแบบโบสเตอร์

Poster Design


         โปสเตอร์ก็เหมือนแผ่นภาพอะไรบางอย่าง  ที่มีตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่  มีการจัดระบบ ระเบียบของโปสเตอร์ไว้ โดยการที่นำโปสเตอร์มาสื่อความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรม ( Abstraction) ให้ออกมาในรูปของนามธรรมสื่อความหมายได้ (ภาพที่ 1 )

ภาพที่ 1

Who's my audience?

           ในการทำโปสเตอร์เราต้องคิดว่าผู้ที่จะมาดูผลงานเราเป็นใครเช่น ผมเรียนอยู่ที่ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า ผมต้องการที่จะสร้างโปสเตอร์ผมต้องคิดว่าคนที่จะมาดูผลงานของผมก็จะเป็น รุ่นพี่รุ่นน้อง ที่จะต้องเป็นคนชมผลงาน งานที่ทำออกมาจะต้องไม่ใช่งานประเภทให้เด็ก ป.1,ป.2 ดูอย่างแน่นอน  งานจะต้องสื่อความหมายหรือขยายความให้เหมาะสมกับผู้ชม


         สิ่งที่ประกอบอยู่ในโปสเตอร์อันดับแรกเราจะต้องวางแผนก่อนว่า อะไรจะอยู่ส่วนใหน  จะแสดงความหมายตรงส่วนใหน  ผลการทดลองเป็นอย่างไรแต่ถ้าโปสเตอร์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยก็ไม่ต้องสนใจเรื่องการทดลอง แค่เราจะต้องรู้ว่าจะวางอะไรไว้ส่วนใหนเป็นอันดับแรก
     
        ภาพที่ 2
 การทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้นแต่ต้องมีคุณภาพ
ภาพที่ 3 
ควรวางโครงร่างให้ดีและมีคำอธิบายประกอบ
ภาพที่ 4 
                           ควรจะตอบได้ว่ามันคืออะไร มีวิธีการอะไร โปสเตอร์ควรสื่อความหมายสิ่งนี้ออกมาได้
ภาพที่ 5
              ตัวหนังสือที่อยู่ในโปสเตอร์ควรอ่านได้ง่าย ต้องมีหลายขนาดเพื่อสื่ออกมาว่าอะไรคือหัวใหญ่ หัวข้อย่อย  เนื้อหา

ภาพที่ 6
         เวลาที่มีคนมาชมผลงานโปสเตอร์เราควรจะมองออกเลยว่าควรจะเริ่มอ่านจากตรงจุดใหนสิ้นสุดที่ได  ควรมีการจัดระเบียบให้เรียบร้อย

software program

  •       PowerPoint
  •       Adobe Illustrator or In  Design
  ชึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบโปสเตอร์ในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเราก็ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

Let's design a poster!

            ในการทำโปสเตอร์ในส่วนของตัวนังสือที่เราจะต้องการเน้นมากที่สุดควรเป็นตัวพิมพ์หนา (Boldface) สำหรับภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นภาษาไทยก็จะมีตัวหนาตัวบางเท่านั้น 
  1. ควรมีการแบ่งช่องว่างของตัวอักษรในระหว่างบรรทัดให้อ่านง่าย
  2. ควรใช้แบบตัวอักษรแบบธรรมดา
  3. ขนาดตัวอักษรให้สอดคล้องกัน
  4. ควรจัดเรียงภาพรวมของโปสเตอร์ให้ดี
ตัวหนังสือห่างเกินไปอ่านยาก


มีการจัดระเบียบตัวหนังสืออ่านง่าย

Easy for the eye to follow


              งานโปสเตอร์ผู้ชมควรจะดูแล้วติดตามง่ายว่าจะวิ่งจากใหนไปใหน เช่น การใช้คลื่นสร้างเป็นสี เป็นแทบ เพื่อให้มีแนวโน้มตัวอักษรไร้ตามกันไป หรือง่ายคือไล่จากล่างขึ้นบนจากซ้ายไปขวา แต่อาจจะดูแข็งหน่อย เช่นหนังสือพิมพ์ 

Text sizes:

  1. ตัวอักษรขนาดใหญ่ควร 85 point (ภาษาอังกฤษ)
  2. ชื่อผู้แต่ง 56 point (ภาษาอังกฤษ) 
  3. ชื่อรอง 36 point  (ภาษาอังกฤษ)
  4. ส่วนที่สำคัญที่สุดคือตัวหนังสือที่อยู่ในโปสเตอร์หรือเนื้อหาควรจะ 24 point ขึ้นไป (ภาษาอังกฤษ)
  5. ตัวหนังสือที่เป็นส่วนประกอบเล็กๆที่ใช้กำกับ หรือแค่อ้างอิง  18 point (ภาษาอังกฤษ)

Picture perfect photos

  1. ภาพที่เป็นกราฟิกหรือภาพถ่ายจะต้อง 150 dpi แต่ไม่ควรมากเกินกว่า 300 dpi 
  2. เวลาที่เชฟภาพเป็น jpg , png ควรเชคให้ดีว่าเชฟ 100 % 
  3. เวลาไปเชฟภาพจากเว็บไชค์เชค์ให้ดีว่าขนาดมันละเอียดเพียงพอหรือไม่
**** Dpi แปลตรงๆ คือ Dot Per Inch ซึ่งหมายถึง จุดทั้งหมดในหนึ่งตารางนิ้ว

Using color to engage your readers


         ควรใช้สีให้ดูน่าอ่าน (ภาพ) ใช้สีขาวพอใช้ได้ดูสะอาดตา


ภาพนี้สีตัดกันมากเกินมันค่อนข้างอ่านยาก

Be carefull with the "primary colors

          ควรใช้สีตามแม่แบบที่ตามศิลปินออกแบบไว้


Be aware of busy backgrounds

         งานออกแบบโปสเตอร์ต้องควรระวังเรื่องสีพื้นหลัง  ไม่ควรมีจุดเยอะเกินไปมันตัดกับตัวหนังสือจนอ่านข้อมูลยาก

ตัวอย่างโปสเตอร์แต่ละแบบทั้งดีและไม่ดี






























วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Objective Analysis And Content Analysis and Instructional Strategy ( 26มิถุนายน - 2กรกฎาคม )

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานของการกำหนดวัตถุประสงค์
  • เพื่อศึกษาถึงลักษณะและพฤติกรรมผู้เรียน
  • เพื่อศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการการกำหนดวัตถุประสงค์

ประเภทของวัตถุประสงค์ของบทเรียน

  • วัตถุปุระสงคทั่วไป (General Objectives)
  • วัตถุประสงค์เฉพาะหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Specific Objectives or Behavioral Objectives)

ส่วนปะกอบของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

     

              พฤติกรรมขั้นสุดท้ายหรือพฤติกรรมที่คาดหวัง  หมายถึง การแสดง ออกของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดบทเรียนแล้วผู้เรียนแสดงพฤติ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา  ซึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องวัดได้ หรือสังเกตได้


                 เงื่อนไขหรือสถานการณ์(Condition or Situation) เป็นข้อความที่บ่งถึงสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือเงื่อนไข ที่จะให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังออกมา


                 เกณฑ์หรือมาตรฐาน (Standard or Criteria)  เป็นส่วนที่ใช้ระบุความสามารถขั้นต่ำของผู้เรียนว่าจะต้อทำได้เพียงใด  จึงจะยอมรับได้ว่าผู้เรียนตามวัตถุประสงค์แล้ว





การจำแนกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์

1.วัตถุประสงค์ทางด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

          1.1 ขั้นการฟื้นคืนความรู้ (Recalled Knowledge)  วัตถุประสงค์ในระดับนี้ มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในลักษณะการฟื้นคืนความจำออกมาในลักษณะของการเขียนหรือการอธิบายด้วยคำพูด

          1.2 ขั้นการประยุกต์ความรู้ (Applied Knowledge)  วัตถปุระสงค์ในระดับนี้ มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาใหม่ ๆ ทีมีลักษณะเดียวกันกับสิ่งที่เคยผ่านการเรียนนรู้มาแล้วได้ อย่างถูกต้อง
           1.3 ขั้นการส่งถ่ายความรู้ (Transferred Knowledge)  วัตถุประสง์คในระดับนี้มุ่งเน้นความสามารถของผู้เรียนในการส่งถ่ายความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในงานใหม่ ๆ ทีมีลักษณะแตกต่างไปจากคุณลักษณะเดิมที่ผู้เรียนมีประสบการณ์มาแล้ว
ได้อย่างถูกต้อง

2.วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

            วัตถุประสงค์ทางด้านทักษะพิสัย จำแนกออกได้3 ระดับ คือ ขั้นลอกเลียน (Imitation) ขั้นฝึกหัดความชำนาญ (Control) และขั้นความเป็นธรรมชาติแบบอัตโนมัติ(Automatism)


3.วัตถุประสงค์ทางด้านเจตพิสัย (Affective Domain)

           วัตถุประสงค์ด้านนี้จำแนกได้ 3 ระดับ คือ ขั้นการรับรู้ (Reception) ขั้นการตอบสนอง(Response) และขั้นการยึดมั่น (Internalization)

ข้อพิจารณาในการเเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

          1. เขียนสั้น ๆ ให้ได้ใจความ ควรมีความยาวหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น
          2. ระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม
          3. ระบุพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิด
          4.เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเป็นรูปธรรม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม

การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ (Task   Analysis)

  การวิเคราะห์งาน (Task Analysis) หมายถึง กระบวนการพิจารณา จำแนก แยกแยะ ระบุประเมินผล และจัดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานหรือภารกิจอย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่ใช่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่อย่างใด การวิเคราะห์งานจำแนกออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

1. งานที่เกิดจากการแยกออกเป็นงานย่อย (Task Decomposition)

2. งานที่เกิดจากการวิเคราะห์ฐานความรู้ (Knowledge-based Analysis)

3. งานที่เกิดจากการวิเคราะหฐ์ านความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่ (Entity Relationship-based Analysis)

กระบวนการวิเคราะห์งาน มีดังนี้

1. กำหนดตำแหน่งงาน (Define the Position Title)

2. แยกแยะงานทั้งหมดทสีั่มพันธ์กับหน้าที่ (Identify All Job-Related Duties)

3. แยกแยะงานหรือภารกิจทงั้ หมด (Identify All Tasks)

4. ประเมินความสำคัญของงานหรือภารกิจ (Task Evaluation)

5. จัดลำดับงานหรือภารกิจ (Order the Tasks)




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหา

                เนื้อหา  (Content)  หมายถึง ข่าวสารที่เป็นสาระสำคัญต่างๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งที่เป็นความรู้ทักษะแก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ในการเรียนการสอนจะระบุลงไปว่าเนื้อหาวิชา” เนื่องจากเน้นการใช้ในบทเรียนซึ่งประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตร

                ความคิดรวบยอดหรือสังกัป  (Concept)  หมายถึง เป้าหมายหรือแกนของสาระของบทเรียน ที่จำแนกความแตกต่างขององค์ประกอบย่อยๆ หรือรวมจากองค์ประกอบย่อยๆ
การกำหนดความคิดรวบยอดของเนื้อหา  พิจารณาจากสิ่งต่างๆ  ต่อไปนี้
1.ลักษณะที่เห็นจากภายนอก
2.ลักษณะที่อยู่ภายใน
3.ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ
4.องค์ประกอบกับสิ่งอื่นๆ

ประเภทเนื้อหา

เนื้อหาจำแนกตามลักษณะของการเรียนรู้ได้  2 ประเภท
          1.ประเภทความรู้ทางทฤษฎี (Knowledge)
          2. ประเภททักษะความชำนาญ (Skill)

               
จำแนกตามโครงสร้างและระดับเนื้อหา
1.เนื้อหาที่เป็นจริงและกระบวนการ (Facts and Process) เป็นเนื้อหาที่อาศัยความจำ
2.เนื้อหาที่เป็นหลักการที่เกิดจากแนวคิดเบื้องต้น (Basic Idea) เป็นเนื้อหาที่แสดงความสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม
3.เนื้อหาที่แสดงความคิดรวบยอด (Concept) เป็นเนื้อหาที่สรุปเป็นคำจำกัดความ กฎ สูตร ทฤษฏี และหลักการต่างๆ
4.เนื้อหาที่อยู่ในรูปของระบบความคิด  (Thought System) เป็นเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ใฝ่คิดหรือรวมคิดสร้างสรรค์

การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Study Behavioral Objective)
2.การรวบรวมและการศึกษาข้อมูล (Collect and Study Related Data)
3.การประเมินความสำคัญของเรื่องย่อย(Evaluate Sub-Topic)
4.การจัดลำดับความสัมพันธ์ของหัวเรื่อง (Sequencing)
5.การเขียนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (Write the Content)

ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา
1.การศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Study Behavioral Objective) วัตถุประสงค์เชิงพฤตกิรรมของบทเรียน เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพฤตกิรรมที่คาดหวังของผู้เรียนจากบทเรียน
2.การรวบรวมและการศึกษาข้อมูล (Collect and Study Related Data) ข้อมูลในที่นี้ หมายถึง ข้อความเนื้อหา ภาพ เสียง วัสดุเครื่องมือ โปรแกรม และส่วนอื่น ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอและออกแบบบทเรียน ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1) ส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน (Subject Matter Resources)
2) ส่วนที่เกี่ยวกับการออกแบบบทเรียน (Instructional Design Resources)
3) ส่วนที่เกี่ยวกับระบบการนำส่งบทเรียน (Delivery System Resources)

ขั้นตอนการรวบรวมและการศึกษาข้อมูล มีดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่ทั้งหมดจากแหล่งที่มาของเนื้อหา
2. ประเมินข้อมูลปัจจุบันเหล่านั้นว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่
3. รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ภายนอก
4. ประเมินข้อมูลทั้งหมดว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการหรือไม่
5. ศึกษารายละเอียดของข้อมูลที่ได้

การประเมินความสำคัญของหัวเรื่องย่อย (Evaluate Sub-Topic)
เกณฑ์การพิจารณา มีดังนี้
1.การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในการเรียน (Promotes Problem Solving)
2. การส่งเสริมทักษะในการทำงานถูกต้องสมบูรณ์  (Promotes Learning Skill)
3. การส่งเสริมเจตคติที่ดี   (Promotes Transfer Value)


 การจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหา (Sequencing)
         เกณฑ์การพิจารณาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
                  1. จัดลำดับเนื้อหา โดยพิจารณาเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหายาก
                  2. จัดตามลำดับก่อนหลังของเนื้อหา เช่น เนื้อหาทฤษฎีต้องมาก่อนเนื้อหาด้านทักษะปฏิบัติ เป็นต้น
                  3. จัดลำดับเนื้อหาจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย ๆ
                  4. จัดลำดับเนื้อหาตามลำดับเวลาที่เกิดก่อนหลัง
                  5. จัดลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปหานามธรรม
                  6. จัดลำดับเนื้อหาจากสิ่งที่สังเกตได้ไปหาข้อมูลหรือกฎเกณฑ์

การเขียนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (Write the Content)
เนื้อหาที่จะนำเสนอในแต่ละวัตถุประสงค์บทเรียนประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1. เนื้อหาหลัก (Main Element) ได้แก่ความคิดรวบยอดที่เป็นแกนของเนื้อหานั้น ๆ ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามวัตถุประสงค์
2. ความรู้ต่าง ๆ (Knowledge) ได้แก่ข้อมูลหรือรายละเอียดปลีกย่อยที่ใช้สนับสนุน ให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาหลัก ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งส่วนก็ได้
ขั้นตอนการเรียนการสอน
                                สามารถจำแนกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสนใจปัญหา (M: Motivation)
2. ขั้นศึกษาข้อมูล (I: Information)
3. ขั้นนำข้อมูลมาใช้ (A: Application)
4. ขั้นประเมินผลสำเร็จ (P: Progress)
 วิธีการนำส่งบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามวิธีการนำส่งบทเรียน (Delivery) ไปยังผู้เรียนได้  3 วิธีดังต่อไปนี้
1. นำเสนอแบบเป็นกลุ่ม (Group Presentation)
2. นำเสนอแบบกลุ่มย่อย (Small-group Presentation)
3. แบบเรียนด้วยตัวเอง (Self-pace Instruction)

การประเมินการเรียนการสอน
ปัจจัยในการพิจารณาแบบทดสอบที่ใช้ในการประเมินผลมีทั้งหมด 7 ประเด็นดังนี้
1. พฤตกิรรมของผู้เรียนที่ต้องการ (Audience Behaviors)
2 เวลาในการทดสอบ (Time)
3. ลักษณะการสอบ (Kind of Test)
4. วิธีการสอบ (Methodology)
5. ความถี่ในการสอบ (Frequency)
6. เกณฑ์ (Criteria)
7. ลักษณะการตรวจผล (Checking Method)

ขั้นตอนในการออกแบบทดสอบสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการออกแบบทดสอบสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์มีดังนี้
1. ศึกษาวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
2. กำหนดชนิดของแบบทดสอบ
3. เตรียมงานและเขียนแบบทดสอบฉบับร่าง
4. วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ
5. ดำเนินการจัดพิมพ์แบบทดสอบ

ชนิดของแบบทดสอบสำหรับการเรียนการสอน
แบบทดสอบจำแนกออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test)
2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)

ลักษณะของแบบทดสอบที่ดี
ลักษณะของแบบทดสอบที่ดีมีดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง (Validity) เป็นคุณลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดอย่างถูกต้องตรงความมุ่งหมาย 
2. มีความเชื่อมั่นสูง (Reliability) คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบต้องมีความคงที่แน่นอน
ว่าจะทำการสอบกี่ครั้ง ผลที่ได้ต้องคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
3. มีความยากง่ายพอเหมาะ (Difficulty) แบบทดสอบจะต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป
4. มีอำนาจจำแนกดี (Discrimination) หมายถึง ลักษณะที่แบบทดสอบสามารถจำแนก
ผู้เรียนออกตามความสามารถได้
5. มีความเป็นปรนัย (Objectivity) แบบทดสอบที่มีความเป็นปรนัย