วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Instruction media 12มิถุนายน - 18มิถุนายน

สื่อการสอน (Instruction media)

                 ในการศึกษาเล่าเรียน  เมื่อผู้สอนมาใช้ เรียกว่า "สื่อการสอน" (Instructional  media) และ เมื่อนำมาให้ผูเรียนใช้ เรียกว่า สื่อการเรียน "Leaning  media" โดยเรียกรวมกันว่า "สื่อกาเรียนการสอน" หรือเรียกสั้นๆว่า  "สื่อการสอน" หมายถึง สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง  สไลค์  วิทยุ   โทรทัศน์   วิดีทัศน์   แผนภูมิ และ  รูปภาพ   เป็นต้น ชึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับ การเรียนการสอน  เป็นช่องทางทำให้การเรีนการสอนเป้นช่องทางทำให้การนเรียนการสอนส่งไปถึงผู้เรียน    ทำให้ผุ้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไม้อย่างเดียว

การจำแนกสื่อการสอน 

                   สื่อการสอนที่ใช้เป็นเพียงที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีประดิษฐ์ขึ้นมาเท่านั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกสามารถนำมาเป็นสื่อการสอนได้  ดังนั้นจึงมีการจำแนกสื่อการสอนตามประเภท  ลักษณะ  และวิธีการใช้ ดังนี

สื่อโสตทัศน์

                   การถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ ยกตัวอย่างสื่อโสตทัศน์ แต่ละประเภทดังนี้
  • สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (Nonprojected Materials)
               - สื่อภาพ (Illustrative Materials) เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่น ภาพกราฟฟิก  กราฟ  แผนภาพ  แผนที่  อื่นๆ


                - กระดานสาธิต (Demonstration Boards) ใช้ในการเสนอเนื้อหา เช่น กระดานชอล์ก  กระดานนิเทศ อื่นๆ


                 - กิจกรรม (Activities) การศึกษานอกโรงเรียน หรือ จัดนิทรรศการ เป็นต้น
  • สื่อใช้เครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เป็นวัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรื่อทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายข้ามศรีษะใช้กับแผ่นโปร่งใส  เครื่องฉายภาพยนต์เป็นต้น
  • สื่อเสียง (Audio Materials and Equipment) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสื่อสารด้วยเสียง เช่น เครื่องเล่นชีดี เทปเสียง เป็นต้น

สื่อแบ่งตามประเภทประสบการณ์การเรียนรู้

                        รูปแบบการเรียนรู้ของคนเราแบ่งเป็น  3  รูปแบบ ได้แก่  การฟัง การดู  และการกระทำ การให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของคนจึงอิงอยู่กับทั้งสามรูปแบบนี้ 


          กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) เป็นแนวคิดของ เอดการ์  เดล (Edgar Dale)
  • ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง
  • ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
  • ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
  • การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
  • การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
  • นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
  • โทรทัศน์ ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
  • ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
  • การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
  • ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
  • วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด 
                        เมื่อประมวลสื่อที่ใช้ในกรวยประสบการณ์ของเดล  ทำให้สามารถจำแนกสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภทคือ 

  • วัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
                -  วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
                    -  วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
  

  • อุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
  • เทคนิคและวิธีการ (Techniques and  methods) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน

สื่อแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้

                 การเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้เป็น  5  รูปแบบ โดยแบ่งได้เป้นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by design) และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (by utilization) ได้แก่
  • คน (people) ในทางการศึกาาโดยตรงนั้น หมายถึง บุคลากรที่อยู่ในระบบของโรงเรียน ได้แก่  ครู  ผู้บริหาร ผู้แนะนำการศึกษา  ผู้ช่วยสอน  ส่วนตามความหมายของการประยุกต์ใช้ ได้แก่คนที่ทำงาน หรือมีความชำนาญงาน อาทิเช่น ศิลปิน  นักการเมือง  นักธุรกิจ  เป็นต้น
  • วัสดุ (materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียน เช่น หนังสือ  สไลค์  แผนที่  แผ่นชีดี  เป็นต้น ส่วนวัสดุที่นำมาประยุกต์เนื้อหาที่บรรจุจะอยู่ในรูปแบบของความบันเทิง เช่น เกมควมพิวเตอร์  เป็นต้น
  • อาคารสถานที่ (Setting) หมายถึง  ตัวตึก  ที่ว่าง  สิ่งแวดล้อม  เป็นต้น ส่วนสถานที่ต่างในชุมชนสามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนการสอนได้เช่นกัน เช่น  โรงงาน  ตลาด   เป็นต้น
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ (tools and equipment) เป็นทรัพยากรการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์  เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น
  • กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักเป็นการดำเนินงานร่วกับทรัพยากรอื่นๆ เช่น เกม การสัมมนา เป็นต้นคุ

คุณค่าของสื่อการสอน

                   สื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหา  สื่อการสอนจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน

สื่อกับผู้เรียน

  • เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน
  • การใช้สื่อทำให้ผู้เรียนมีความสนใจตรงกัน
  • สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสออนมากขึ้น
  • สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้

สื่อกับผู้สอน

  • การใช้สื่อช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหา
  • เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอ

ขั้นตอนการใช้สื่อการสอน

  • ขั้นเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน

  • ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นให้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์  ผู้สอนจะต้องใช้สื่อให้เหมาะสม จัดลำดับขั้นตอนอย่างละเอียดถูกต้อง

  • ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฎิบัติ  เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ด้านทฤษฎีมาใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยการลงมือปฎิบัติเอง

  • ขั้นสรุปบทเรียน  เป็นขั้นย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจถูกต้องตามวัตถุประสงค์

  • ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจสิ่งที่เรียนไปถูกต้องมากน้อยเพียงใด

หลัการออกแบบ (Principle of Design)

  1. ความกลมกลืน (Harmony) หลักออกแบบมีดังนี

  • ความกลมกลืนของเส้นและรูปร่าง
  • ความกลมกลืนของขนาดและทิศทาง
  • ความกลมกลืนของสีและบริเวณว่าง
  • ความกลมกลืนกันของความคิดและจุดมุ่งหมาย
  • ความกลมกลืนกันของลักษณะผิวและจังหวะ

  2. สัดส่วน (Proportion) การออกแบบสัดส่วนที่ดีจะช่วยให้การออกแบบมี            ความสมดุล

  3.ความสมดุล (Balance) ความสมดุลแบ่งออกเป็นสองชนิด

  1. ความสมดุลที่เหมือนกันทั้งสองข้าง/สมมาตร
  2. ความสมดุลที่ทั้งสองข้างไม่เหมือนกัน/อสมมาตร

  4.จังหวะและเคลื่อนไหว (Rhythm & Movement) 

               เป็นรูปแบบของการเคลื่อนไหว หรือการช้ำกันของสิ่งเดียว เช่้น การเต้นรำ การเดิน ส่วนลักษณะที่ไม่เคลื่อนไหวแต่เป็นการช้ำกัน เป็นการช้ำในรูปทรงและรูปร่าง

  5.การเน้น (Emphasize) เป็นการสร้างจุดเด่นเพื่อดึงดูดใจ

  6.เอกภาพ (Unity) งานออกแบบที่มีเอกภาพคือ งานที่เสนอเรื่องราวแนวคิด จุดสนใจเพียงหนึ่งเดียว โดยมีส่วนประกอบอื่นมาสนับสนุน

  7.การตัดกัน (Contrast)  การตัดกัน การขัดกันในลักษณะตรงกันข้าม เพื่อให้ผลงานมีความเด่นชัด


องค์ประกอบการออกแบบ (Element of Design)

  1. จุด (Point) จุดเป็นพื้นฐานเบื้องต้นและสำคัญที่สุดในการออกแบบทุกชนิด
  2. เส้น (Line) เส้นเป็นสิ่งที่เชื่อมกันระหว่าง 2 จุด เส้นทุกเส้นมีความหมายและแสดงอารมณืในตัวเอง
  3. รูปร่าง (Shape)
  •  รูปร่างมีลักษณะสองมิติ ไม่มีปริมาตรหรือมวล
  •  รูปทรงที่มีลักษณะสามมิติ  มีปริมาตรและมวล
      4.ปริมาตร(Volume) เป็นสิ่งที่มีลักษณะสามมิติ แบ่งได้   2    ประเภท 
  • ปริมาตรในพื้นที่ว่างของวัตถุ
  • ปริมาตรควรมีความหนาแน่นเป็นกลุ้มก้อน
      5.ลัษณะพื้นผิว (Texture) ลัษณะพื้นผิวมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึก
      6.บริเวณว่าง (Space) บริเวณว่างช่วยดึงดูดให้น่าสนใจ
      7.สี (Color) สีจัดเป็นสิ่งสามารถดึงดูดใจได้อย่างมาก สื่อประเภทต่างๆ ควรเลือกชนิดสีให้เหมาะสม
      8.น้ำหนัก (Value) น้ำหนักสีเป็นความน้ำหนักเบา ไกล้ไกล    

วิธีระบบ (System approach)

ความหมายของระบบ

                    ระบบ  หมายถึง หน่วยรวมของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์ออกแบบสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างมีระบบและสัมพันธ์กัน  เพื่อให้การดำเนินงานนั้นระบุตามเป้าหมาย

ลักษณะระบบที่ดี

  • มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with Environment)
  • มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Purpose)
  • มีการรักษาสภาพตนเอง (Self-Regulation)
  • มีการแก้ไขตนเอง (Self-Cprrection)

 มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Interact with Environment)      

                    โลกรอบๆ ตัวนี้ เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้ทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (Open System)  

    

มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Purpose)

                   ระบบต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอน  สำหรับตัวของมันเองระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีจุดมุ่งหมายว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตให้ดีที่สุด" (จากภาพ) แสดงการรักษาสภาพตนเองของ "ระบบการย่อยของคน"

การปรับและแก้ไขตนเอง

                      การรักษาสภาพตนเอง  และการแก้ไขปรับแต่งตนเองนี้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของระบบ เพราะจะทำให้ระบบเป็นวงจรไม่ไช่เส้นตรง

องค์ประกอบของวิธีระบบ



  1. ข้อมูลวัตถุดิบหรือตัวป้อน (Input) หมายถึง สิ่งต่างๆที่จำเป็นที่ต้องใช้ในกระบวนการ
  2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน (Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไปมาจัดกระทำตามวัตถุประสงค์
  3. ผลผลิต หรือ การประเมินผล (Output) หมายถึง  ผลที่ได้จากการกระทำ
  4. การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed  Back)

ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ

  1. เป็นการทำงานร่วมกัน
  2. เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์
  3. เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
  4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยๆ
  5. มุ่งใช้การทดลองจริง
  6. เลือกแก้ปัญหาที่แก้ไขได้ก่อน

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

               การวิเคราะห์ระบบ เป็นการนำวิธีทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ หลักการในทางปฏิบัติขั้นตอนวิเคราะห์ระบบมีดังนี้
  1. กำหนดปัญหา (Identify Problem)
  2. กำหนดขอบข่ายปัญหา (Define Problem)
  3. วิเคราะห์ปัญหา (Analysis Problem)
  4. กำหนดแนวทางแก้ปัญหา (Generate Alternative Solutions)
  5. เลือกแนวทางแก้ปัญหา (Select Best Solution)
  6. วางแผนเตรียมการแก้ปัญหา (Design Action Program)
  7. นำไปทดลองกับกลุ่มย่อย (Implement Program)
  8. ควบคุมตรวจสอบ (Monitor Program)

การนำวิธีระบบมาใช้ในการเรียนการสอน

การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional desigm)

           การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใชช้ตามขั้นตอน

ความหมายของการออกแบบระบบการเรียนการสอน

           การออกแบบระบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้นในเนื้อหาจำนวนมาก หรือ เนื้อหาสั้นๆ ปัญหาในระบบการเรียนการสอนต้องตระหนักและพยามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
  • ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
  • ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
  • ปัญหาด้านเนื้อหาและลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
  • ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
  • ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ (Constraint)

ปัญหาด้านทิศทาง

              ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร ต้องสนใจจุดใหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านสุดมุ่งหมาย

ปัญหาด้านการวัดผล

              สามารถเกิดได้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการสอนได้ผลดี

ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา

              ครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงหรือไม่สัมพันธ์กัน

ปัญหาด้านวิธีการ

              วิธีการสอนของครูอาจทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน

ปัญหาข้อจำกัดต่างๆ

องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน

              การนำวิธีระบบของการเรียนการสอนเป็นการประยุกต์มาปรับลำดับความสำคัญให้สอดคล้องกับบริบทของการการศึกษาประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
  1. การประเมินความจำเป็น
  2. การเลือกทางแก้ปัญหา
  3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
  4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็น
  5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
  6. การลำดับขั้นตอนการสอน
  7. การเลือกสื่อ
  8. การจัดหรือกำหนดทรัพยากรที่จำเป็น
  9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
  10. การปรับปรุงและแก้ไขทรัพยากร
  11. การเดินตามวัฎจักรของกระบานการทั้งหมดช้ำอีก
บุญชม   ศรีสะอาด  ได้ออกแบบการเรียนการสอนโดยนำหลักการของระบบมาใช้ในการออกแบบชึ่งประกอบด้วย  ตัวป้อน  กระบวนการ   และผลผลิต   ดังภาพ


1 ความคิดเห็น: